fbpx

หลายธุรกิจที่กำลังมองหาทีมการตลาดเพื่อที่จะปั้นแบรนด์ของตัวเองให้เป็นที่รู้จักในตลาด หรือสร้าง ยอดขาย แต่เมื่อได้ทำแล้วก็ต้องพบเจอกับปัญหาการแปลความหมายต่างๆ ของทีมการตลาดที่มักจะเป็นคำศัพท์ทางการตลาดแทบจะ 100% ทำให้เจ้าของธุรกิจเกิดความสับสน และไม่สามารถวัดผลความสำเร็จได้อย่าง แท้จริง

ในบทความนี้ทาง TRENDY MARKETING เราจึงอยากแชร์ความหมายที่มักพบเจอในการทำการ ตลาดออนไลน์มาให้ทำความเข้าใจกันครับ

คำศัพท์ทางการตลาดผมขอแบ่งเป็นช่องทางต่างๆ ดังนี้

1. คำศัพท์ในการทำ Facebook marketing

Impression : การแสดงผลโฆษณา นับเป็นจำนวนครั้ง โดยไม่สนว่าจะมีคนเห็นจริงหรือไม่
Reach : การเข้าถึง หรือการที่กลุ่มเป้าหมายเลื่อนเห็นโฆษณาของเราจริงๆ
Engagement : การมีส่วนร่วมกับโฆษณา หรือโพสต์ต่างๆ เช่น การไลค์, คอมเม้นท์, หรือแชร์ โพสต์
Video view : จำนวนการดูวีดีโอ โดยระบบ Facebook จะทำการแจกแจงให้เราว่าดูเป็นจำนวนกี่วินาที เช่น 3 วิ, 5วิ, 10วิ
Messages : จำนวนการติดต่อผ่านข้อความ inbox บน Facebook
Traffic : จำนวนการคลิกลิงก์ปลายทาง เช่น กดคลิกไปยังเว็บไซต์ (เสียเงินจากการกดคลิกโดยไม่สนว่าจะ โหลดหน้าเว็บสำเร็จหรือไม่)
Conversion : วัดผลการดำเนินการบนเว็บไซต์โดยใช้ Facebook pixel code ติดตั้งบนเว็บไซต์เพื่อวัดผล เช่น จำนวนการดูหน้าเว็บ, จำนวนการสั่งซื้อสำเร็จ, กรอกแบบฟอร์มสำเร็จ

2. คำศัพท์ในการทำโฆษณาบน Google Ads

Impression : จำนวนการแสดงผลโฆษณาบนหน้ากูเกิ้ล
Click : จำนวนการคลิกข้อความโฆษณาบนหน้ากูเกิ้ล
Avg. cpc : ค่าเฉลี่ยราคาต่อคลิก
Avg. pos. : ค่าเฉลี่ยตำแหน่งการแสดงผลบนหน้ากูเกิ้ล เช่น โฆษณาอยู่ในลำดับที่ 1, 2, 3
CTR : เปอเซ็นต์จำนวนการคลิกโฆษณาโดยนำเอา จำนวนคลิก หาร การแสดงผล

3. คำศํพท์ในการทำโฆษณาบน Youtube

Impression : จำนวนการแสดงผลโฆษณาบน Youtube
View : จำนวนการดู
Avg. view : ราคาเฉลี่ยต่อการดู 1 ครั้ง
Avg. Impr. : ราคาเฉลี่ยต่อการแสดงผล 1,000 ครั้ง
Earned view : การคลิกดูคลิปอื่นๆ ภายใน Channel ที่เราทำการเชื่อมต่อกับ Google Ads

สำหรับข้อมูลด้านบนนี้เป็นความหมายคำศัพท์หลักๆ ที่เจ้าของธุรกิจหลายคนต้องเจอในการทำโฆษณา หรือการตลาดกับบริษัท หากคุณเข้าใจความหมายต่างๆ ตามด้านบนที่แจกแจงทั้งหมดแล้ว ก็จะสามารถทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอนครับ

Social Media ชื่อดังอย่าง Facebook, Instagram, Line official account กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ ทรงพลังในการสร้างแบรนด์ หรือสร้างการรับรู้ในวงกว้างที่ทุกธุรกิจต่างจับตามองและให้ความสำคัญในการทำการตลาดเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งผู้ประกอบการหลายๆ ท่านอาจมองข้ามจุดอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก Social Media ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจในระยะยาว ทำให้แบรนด์สามารถสร้างการรับรู้ได้แต่ไม่สามารถปิดการขายได้

ในบทความนี้ทางบริษัทเราขออนุญาติหยิบยกทฤษฎีการตลาดสากลที่ใช้กันทั่วโลกอย่าง Customer journey มาอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจครับ

การสร้างแบรนด์หนึ่งแบรนด์ให้เกิดการรับรู้และเป็นที่รู้จักจนไปถึงการสั่งซื้อสินค้าและจงรักภักดีต่อ แบรนด์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอน ซึ่งการเดินทางในแต่ละจุดของลูกค้าตั้งแต่ก่อนรู้จักจนตัดสินใจสั่งซื้อสินค้านั้นต้องผ่านกระบวนการและสื่อต่างๆ อย่างมากมาย ในวันนี้หลายธุรกิจมักคิดว่าการทำการตลาดบน 1 Platform อย่างเช่น Facebook ก็น่าจะเพียงพอทำให้ธุรกิจสร้างยอดขายได้อย่างมากมายแล้วนั้นเป็นความคิด ที่ผิด! ครับ เพราะ…Facebook เป็นเพียงแค่หนึ่งในช่องทางสร้างตัวตนของแบรนด์บนโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ หลังจากนั้นลูกค้าจะต้องใช้ข้อมูลอีกหลายๆ อย่างเพื่อประกอบการตัดสินใจ

ผมขอยกตัวอย่างจากภาพนี้และอธิบายให้คุณผู้อ่านเข้าใจนะครับ

Awareness คือช่วงสร้างการรับรู้ให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในตลาด ช่องทางตลาดต่างๆ ที่เหมาะสมที่จะ ทำให้ช่วงนี้ได้แก่ การทำการประชาสัมพันธ์ทั้งด้านออฟไลน์และออนไลน์ อย่างเช่น PR, โฆษณาวิทยุ ทีวี, Online ads (Display ads, Youtube ads เป็นต้น) เพื่อให้คนที่พบเห็นเกิดการรับรู้ว่าแบรนด์มีตัวตนและเกิด การจดจำเมื่อเห็นเป็นจำนวนหลายๆ ครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั่นเอง

Consideration คือช่วงการพิจารณาเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆ แน่นอนครับในช่วงนี้หลังจากที่ลูกค้า รู้จักแบรนด์ของคุณแล้ว ก็ต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ อย่างเช่น Social media อย่าง Facebook, Instagram เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพรีวิว, คลิปวีดีโอ, คอนเทนต์ และสื่อ อื่นๆ อย่างเช่น Bloger ต่างๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ

Purchase คือช่วงการสั่งซื้อสินค้า หลังจากลูกค้าของคุณได้เปรียบเทียบข้อมูลจาก Social media ต่างๆ แล้วและตัดสินใจซื้อ ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการปิดการขาย นั่นคือช่องทางการขาย อย่างเช่น Website, หน้าร้าน, หรือ Facebook message, Direct message บน IG, Line official account ซึ่งตรงนี้จะ ต้องมีขั้นตอนการสั่งซื้อที่เข้าใจง่าย รวดเร็ว และปลอดภัยให้ลูกค้ากล้าตัดสินใจซื้อ

Retention คือการซื้อซ้ำ ตรงนี้แคมเปญ CRM ในการรักษาฐานลูกค้าเก่าจะเข้ามามีบทบาทและสำคัญ มากๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกพิเศษ! มีคุณค่าและอยากจะสั่งซื้อสินค้าซ้ำกับแบนด์ ผมขอยกตัวอย่างเช่น ค่ายมือถือ ชื่อดังต่างมีแคมเปญ Privilage ของตนเอง ที่ดีลกับร้านอาหาร ร้านกาแฟ ต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้เครือข่ายของ ตนเองมีสิทธิพิเศษ! อย่างเช่น ส่วนลดต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและรู้สึกภูมิใจที่ได้ใช้บริการ

Advocacy คือการจงรักภักดีต่อแบรนด์ ตรงนี้ผมขอยกตัวอย่างสาวกมือถือของ 2 แบรนด์ยักใหญ่อย่าง Sumsung และ Apple ต่างฝ่ายก็มีฐานลูกค้าของตนเองที่มักจะติดตามและสั่งซื้อมือถือรุ่นใหม่ๆ ของค่าย อยู่ตลอดเวลา และเมื่อมีผู้ใช้งานมือถือฝ่ายตรงข้ามมาบ่นข้อเสียหรือข้อด้อยของแบรนด์ที่ตนเองใช้อยู่ก็มักจะ ออกตัวปกป้องแบรนด์ต่างๆ นาๆ เพื่อให้แบรนด์ไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งหากแบรนด์ของคุณมาถึงจุดนี้ได้ก็จะได้ลูกค้าใหม่เรื่อยๆ โดยการบอกปากต่อปากชักชวนกันมาใช้สินค้าของคุณอย่างแน่นอน!

การทำธุรกิจต่างๆ ล้วนต้องหวังพึ่งสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์ของตนเองเป็นที่รู้จักในตลาด เพื่อให้เกิดการรับรู้และยอดขาย แต่ทุกวันนี้สื่อออนไลน์ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจแทบจะ 100% ทำให้ นักการตลาดหรือผู้ประกอบการหลายๆ ท่าน มักเข้าใจว่าการทำตลาดบนโลกออนไลน์อย่างเดียวก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่นั่นหมายถึงคุณกำลังคิดผิดอย่างมาก!

โลกออนไลน์นั้นเป็นเพียงช่องทางหนึ่งที่เป็นเครื่องมือกระจายข่าวสาร หรือคอนเทนต์ต่างๆ ของแบรนด์ให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง โดยให้คนที่พบเห็นเกิดการมีส่วนร่วม (Engagement) กับแบรนด์ และเกิดการยอมรับและเปิดใจทดลองสินค้า แต่แน่นอนครับ หากในวันนี้คุณมีเพียงช่องทางออนไลน์เท่านั้นสำหรับการสั่ง ซื้อก็อาจจะทำให้ยอดขายของคุณไม่โตเท่าที่ควร เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคบางกลุ่มยังคงเคยชินและต้องการเห็นสินค้าจริงๆ จากหน้าร้านอยู่ เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่โดนหลอกแน่ๆ

บางธุรกิจที่ต้องสั่งดูข้อมูลสินค้าและเดินทางมาสั่งซื้อที่หน้าร้านเท่านั้น อย่างเช่น ร้านอาหาร, ฟิตเนต, ร้านทำ ผม, สปาเล็บ, คลินิกความงาม ดังนั้นเราควรจะกระตุ้นยอดขายให้สอดคล้องกับธุรกิจ ยกตัวอย่าง เช่น ทำ กิจกรรมบน Facebook fanpage และนำคูปองมาใช้เป็นส่วนลด, Live facebook ถาม-ตอบ คำถามกับลูกค้า แฝงการประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นนำ Code มาใช้บริการหน้าร้าน เพียงเท่านี้คุณก็สามารถใช้ช่องทางออนไลน์ เพิ่มลูกค้าได้แล้วล่ะครับ!

จริงๆ แล้วเราสามารถทำให้การตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์สอดคล้องและส่งเสริมกันได้ไม่ยาก หาก วันนี้คุณกำลังประกอบธุรกิจอยู่ ผมอยากแนะนำให้ลองคิดแคมเปญที่ส่งเสริมยอดขายโดยลองใช้กลยุทธ์ Online to Offline ดูนะครับ